ในฐานะของสมเด็จพระราชินีและจักรพรรดินี ของ จักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี

พระราชวงศ์อิหร่านในพระราชพิธีครองราชสมบัติในปีค.ศ. 1967 จากซ้าย:เจ้าหญิงอัชราฟ, เจ้าหญิงชาห์นาซ, พระเจ้าชาห์, เจ้าหญิงฟาราห์นาซ, มกุฎราชกุมารเรซา, จักรพรรดินีฟาราห์และเจ้าหญิงชามส์

บทบาทของสมเด็จพระราชินีพระองค์ใหม่อาจจะทรงมีในกิจการของรัฐหรือรัฐบาลเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ภายในราชสำนัก บทบาทในสาธารณะของพระองค์เป็นเรื่องรองมาจากเรื่องที่เร่งด่วนมากคือการสืบราชสันตติวงศ์ที่มั่นคง อย่างไรก็ตาม เมื่อองค์มกุฎราชกุมารประสูติ สมเด็จพระราชินีพระองค์ใหม่ทรงเป็นอิสระในการอุทิศเวลาของพระองค์ในพระกรณียกิจอื่นและการแสวงหาความรู้อย่างเป็นทางการ

พระเจ้าชาห์ทรงสวมมงกุฎตำแหน่งจักรพรรดินีแก่พระนางฟาราห์ ปาห์ลาวีในพระราชพิธีครองราชสมบัติในปีค.ศ. 1967

เหมือนกับพระมเหสีพระองค์อื่นๆ พระราชินีพระองค์ใหม่ทรงเริ่มจำกัดพระองค์เองให้เป็นบทบาททางพิธีการ พระองค์ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเข้าร่วมการเปิดสถาบันการศึกษาและการแพทย์ต่างๆโดยไม่ทรงเข้าไปก้าวก่ายเกินเลยในประเด็นขัดแย้ง อย่างไรก็ตามในขณะที่เวลาผ่านไปสถานะนี้ได้เปลี่ยนแปลง สมเด็จพระราชินีทรงมีความสนพระทัยอย่างมากในกิจการของรัฐบาลที่ซึ่งเกี่ยวกับปัญหาและเป็นเหตุให้พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัย พระองค์ทรงใช้ความใกล้ชิดและอิทธิพลของพระองค์ต่อพระเจ้าชาห์ ผู้เป็นพระสวามี เพื่อรับประกันการระดมเงินทุนและให้ความสนใจมุ่งเน้นไปที่สาเหตุโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ของสิทธิสตรีและการพัฒนาทางวัฒนธรรม

ในที่สุดสมเด็จพระราชินีทรงเข้ามารับผิดชอบในพนักงาน 40 คนที่จัดการคำขอความช่วยเหลือต่างๆในช่วงปัญหา พระองค์ทรงกลายเป็นหนึ่งในบุคคลที่มองเห็นได้อย่างมากที่สุดในรัฐบาลของจักรวรรดิและทรงรับองค์การการศึกษาจำนวน 24 องค์การไว้ในพระราชินูปถัมภ์, การแพทย์และวัฒนธรรม บทบาททางมนุษยธรรมของพระองค์ทำให้พระองค์ทรงได้รับความนิยมในช่วงหนึ่ง โดยเฉพาะในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1970[14] ในช่วงนี้พระองค์เสด็จประพาสภายในประเทศอิหร่าน เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมพสกนิกรในพื้นที่ห่างไกลบางส่วนและทรงพบปะกับพลเมืองในท้องถิ่น

รัฐบาลกลางในกรุงเตหะรานตระหนักถึงความนิยมของประชาชนต่อพระองค์ จึงทำให้ในปีค.ศ. 1967 พระเจ้าชาห์ได้จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระองค์เองขึ้น และได้สถาปนาพระราชินีขึ้นเป็นจักรพรรดินี (ชาห์บานู, شاهبانو) ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์อิหร่านสมัยใหม่และยังทรงสถาปนาให้เป็น "จักรพรรดินีนาถ" ในกรณีที่พระองค์สวรรคตหรือไม่สามารถปกครองประเทศได้ก่อนที่มกุฎราชกุมารจะเจริญพระชนมายุครบ 21 พรรษา ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่แปลกใหม่สำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์ในตะวันออกกลาง[14]

ระยะการดำรงพระอิสริยยศของพระนางฟาราห์ในฐานะจักรพรรดินีโดยปราศจากข้อโต้แย้ง สาเหตุที่พระองค์ทรงปกป้องและบทบาทของพระองค์ในรัฐบาลบางครั้งนั้นได้เข้ามาขัดแย้งกับคนบางกลุ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายอนุรักษนิยมทางศาสนา ความไม่พอใจของคนกลุ่มนี้ที่พุ่งเป้าหมายไปที่รัฐบาลปาห์ลาวีทั้งหมดและไม่ใช่เพียงแค่องค์จักรพรรดินีเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น

พระองค์พร้อมกับรัฐบาลปาห์ลาวีได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีการตักตวงผลประโยชน์มากเกินไป เวลาสองครั้งที่รัฐบาลได้สร้างความโกรธแค้นคือ พระราชพิธีครองราชสมบัติในปีค.ศ. 1967 และที่มากที่สุดคือ พระราชพิธีเฉลิมฉลองราชาธิปไตยแห่งอิหร่านครบ 2,500 ปีที่ถูกจัดขึ้นในปีค.ศ. 1971 ในนครโบราณแพร์ซโพลิส ในขณะที่องค์จักรพรรดินีเองทรงออกมาปกป้องว่าพระราชพิธีนี้เปรียบเหมือนตู้แสดงความงดงามของประวัติศาสตร์อิหร่านและความก้าวหน้าทันสมัย นักวิจารณ์อ้างว่าค่าใช้จ่ายในพระราชพิธีนี้(ซึ่งแม้ว่ามีข้อพิพาทอย่างแน่นอนถึงสิบล้านดอลลาร์)สูงเกินไป ได้นำมาซึ่งความกดดันทางการคลังให้เกิดขึ้นในประเทศ

แหล่งที่มา

WikiPedia: จักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี http://www.parlament.gv.at/PAKT/VHG/XXIV/AB/AB_105... http://irancollection.alborzi.com/ http://orderofsplendor.blogspot.com/2012/02/weddin... http://abcnews.go.com/International/story?id=44069... http://books.google.com/books?id=ZlptU4A2HkUC&prin... http://books.google.com/books?id=pTVSPmyvtkAC&pg=P... http://www.nationalreview.com/articles/210633/shah... http://www.nytimes.com/2004/05/02/books/the-last-e... http://www.payvand.com/news/05/oct/1085.html http://www.payvand.com/news/07/mar/1060.html